การอ่านหนังสือพิมพ์


การศึกษาหาความรู้ในปัจจุบัน ผู้อ่านมิได้จำกัดแหล่งสืบค้นข้อมูลอยู่ที่ตำราอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในปัจจุบันมีสื่อสิ่งพิมพ์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยไปตามความเจริญของเทคโนโลยี ผู้อ่านสามารถอ่านและสืบค้นข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ตลอดจนระบบอินเทอร์เน็ตที่ผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านและสืบค้นข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว และกว้างขวางยิ่งขึ้นจะเห็นว่าหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชนต่างเห็นความสำคัญ มีการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวางเพื่อให้บุคคลในองค์กรสามารถปฏิบัติงานและสืบค้นข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
การศึกษาหาความรู้จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะกล่าวถึงการอ่านและสืบค้นข้อมูลจากหนังสือพิมพ์นิตยสารและระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเห็นว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน รวมถึงกิจวัตรประจำวันของบุคคลโดยทั่วไป
หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อประชาชนมาก เพราะหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวต่างๆในแต่ละวันมีทั้งข่าวการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ ต่างประเทศ อาชญากรรม กีฬา บันเทิง รวมทั้งบทความต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จะต้องมีการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ผู้อ่านรับทราบข้อมูลต่างๆ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เนื่องจากข่าวมีหลายประเภทผู้เขียนจะแบ่งประเภทโดยพิจารณาจากระดับของข่าวหรือความรู้สึกตอบสนองของผู้อ่าน และการนำเสนอข่าว ดังนี้
1. ข่าวหนัก (hard news) หมายถึง ข่าวที่เน้นให้สาระแก่ผู้อ่าน มักเป็นข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญหรือมีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก เป็นเรื่องราวที่เข้าใจค่อนข้างยาก ต้องอาศัยความคิด ความรู้ความสนใจในภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องนั้นพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ เช่น ข่าวการเมืองข่าวเศรษฐกิจ ข่าวแรงงาน ข่าวต่างประเทศ ข่าวการศึกษา ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


2. ข่าวเบา (soft news) หมายถึง ข่าวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของผู้อ่านไม่มากเหมือนข่าวหนัก แต่เป็นเรื่องราวที่ผู้อ่านสนใจ และสามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้ เป็นข่าวที่ผู้อ่านเกิดความรู้สึกตอบสนองในทันที ไม่ว่าจะเป็นความสนุกสนาน ขบขัน ตื่นเต้น เห็นอกเห็นใจ โศกเศร้าและเสียใจ เช่น ข่าวอาชญากรรม อุบัติเหตุ บันเทิง กีฬา ฯลฯ ความรูสึกตอบสนองของผู้อ่านนี้จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ


วิธีการอ่านข่าวหนังสือพิมพ์
การอ่านข่าวหนังสือพิมพ์อาจจะแตกต่างจากการอ่านบทความและสารคดี เนื่องจากข่าวมีการนำเสนอข่าวเป็นรายวัน อาจมิได้มีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดเหมือนกับบทความในนิตยสาร การจะอ่านหนังสือพิมพ์ให้ได้เนื้อหาสาระ ควรต้องรู้ว่าข่าวหนังสือพิมพ์มีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. พาดหัวข่าว พาดหัวข่าวเป็นข้อความหรือประโยคสั้นๆ สรุปสาระสำคัญ ใช้ภาษาที่มีสีสันตามลักษณะเฉพาะของภาษาหนังสือพิมพ์ ภาษาพาดหัวข่าวจะเป็นจุดสนใจที่สามารถดึงดูดดความสนใจของผู้อ่านได้ เช่น


2. วรรคนำข่าวและเนื้อหาข่าว ลักษณะของการเขียนข่าวมีวรรคนำก่อนแล้วจึงเสนอเนื้อหาข่าวไปตามลำดับ เนื้อหาข่าวโดยทั่วไปมักนำเสนอเรื่องราวว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
การนำเสนอเนื้อหาข่าวอาจมีหลายย่อหน้า ย่อหน้าแรกเปนวรรคนำ เป็นการสรุปประเด็นสำคัญ ย่อหน้าต่อไปเป็นการขยายความว่า เหตุเกิดที่ไหน เมื่อไร เวลาใด เป็นอย่างไร ซึ่งอาจมีหลายย่อหน้า และในย่อหน้าสุดท้ายอาจกล่าวถึงประเด็นอื่นที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นข่าวโดยตรง ดังตัวอย่างต่อไปนี้


การอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์นั้นผู้อ่านควรสังเกตการณ์ใช้ภาษาเขียนในข้อความพาดหัวข่าว เพราะการใช้ถ้อยคำพาดหัวข่าวมักใช้ถ้อยคำที่ต่างไปจากภาษาปกติที่ใช้ตามหลักภาษาไทย ข้อความพาดหัวข่าวนั้นอาจจะไม่ใช่ประโยค แต่เป็นข้อความที่นักข่าวเขียนขึ้นให้มีสีสันและดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน เช่น



ข้อความพาดหัวข่าวดังกล่าวใช้อักษรย่อสร.กฟน.ซึ่งหมายถึง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าหลวงนคร การใช้อักษรย่ออาจทำให้ผู้อ่านบางคนไม่เข้าใจความหมาย นอกจากผู้อ่านจะติดตามอ่านในเนื้อข่าว นอกจากนี้ผู้เขียนยังใช้สำนวน ทองไม่รู้ร้อน ซึ่งหมายถึง เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความรู้สึกรีบร้อน และยังใช้คำกริยาว่า แฉ ซึ่งหมายถึง ตีแผ่ เปิดเผย
หากพิจารณาข้อความพาดหัวข่าว ผู้เขียนต้องการสื่อสารว่า
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวงแจ้งว่าหน่วยงานราชการยังไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระ
การใช้คำกริยาคำว่า แฉ เสมือนผู้เขียนตั้งใจตีแผ่ให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีหน่วงานราชการต่างๆในหลายกระทรวงยังไม่จ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระอยู่
การอ่านเนื้อหาข่าวก็เช่นเดียวกัน ข้อความสำคัญของเนื้อหาข่าวอยู่ที่วรรคนำข่าว สำหรับเนื้อหาข่าวอาจมีหลายย่อหน้า เป็นการเขียนขยายความ และในบางข่างผู้เขียนข่าวเขียนกวนด้วยข้อความเดิมๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาในการอ่าน
การอ่านสังเคราะห์สาระความรู้ และจับใจความสำคัญของข่าว ผู้อ่านอาจอ่านข่าวโดยวิธีอ่านคร่าวๆไปก่อนและเมื่อพบข้อความที่คิดว่าเป็นสาระสำคัญของข่าวจึอ่านรายละเอียด จะช่วยให้ผู้อ่านอ่านข่าวได้รวดเร็วขึ้น

ตัวอย่างข่าวจากหนังสือพิมพ์

ถ้าอ่านอย่างคร่าวๆข่าวเรื่อง สตรีเยอรมันรับโนเบลวรรณกรรม" เป็นข่าวสั้นมี 4 ย่อหน้าในแต่ละย่อหน้าเสนอประเด็นข่าว ดังนี้


เมื่อผู้อ่านสามารถจับประเด็นของข่าวในแต่ละย่อหน้าได้แล้วก็สามารถสรุปสาระของข่าวได้โดยง่าย ซึ่งข่าวข้างต้นสรุปได้ดังนี้
สถาบันสวีเดนได้คัดเลือกนักประพันธ์หญิงชาวเยอรมัน ชื่อ แฮร์ธ่า มุลเลอร์ ให้ได้รับรางสัลโนเบล สาขาวรรณกรรมประจำปี2552 และจะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านโครน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2552 ณ กรุงสตอกโฮล์ม เมืองหลวงของสวีเดน
ผลงานที่สร้างชื่องเสียงให้แกมุลเลอร์อย่างมากคือ เรื่อง นีเดอร์รุนเกน หรือ ที่ราบต่ำ และเรื่อง ออฟเพรสซิฟ แทงโก้ โดยบรรยายถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเล็กๆ ที่พูดภาษาเยอรมันในโรมาเนียและวิพากษ์วิจารณ์การปกครองแบบเผด็จการของโรมาเนียอย่างตรงไปตรงมาจนถูกห้ามพิมพ์ในโรมาเนีย
 จากตัวอย่างข่าวข้างต้น นักเรียนจะพบว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีข่าวหลากหลายแนวหลายลักษณะแตกต่างกันไปตามเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้อ่านสามารถเลือกอ่าน สืบค้นสาระความรู้ตามความสนใจของตน












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น