การอ่านนิตยสาร



          คำว่า นิตยสาร (magazine) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546:587) อธิบายความหมายว่าหนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบนิตยสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์เรื่องราวต่างๆเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรืออื่นๆ ในหนังสือเล่มนี้แบ่งนิตยสารเป็น 2 ประเภท คือ
          1. นิตยสารทั่วไป หมายถึง นิตยสารที่ตีพิมพ์เรื่องราวทั่วๆไปที่ตอบสนองต่อกลุ่มผู้อ่าน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่เฉพาะเจาะจงผู้อ่านกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น นิตยสารเกี่ยวกับการวิจารณ์ข่าว สุขภาพและการท่องเที่ยว
          2.  นิตยสารเฉพาะกลุ่ม หมายถึง นิตยสารที่มีเนื้หาหรือเรื่องราวตอบสนองผู้อ่านเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยจะเป็นนิตยสารเฉพาะเรื่อง เช่น นิตยสารเกี่ยวกับรถยนต์ กีฬา และสตรี
นิตยสารประเภททั่วไปและเฉพาะกลุ่มจะมีรูปแบบคล้ายๆกัน กล่าวคือ การตีพิมพ์เนื้อหาในนิตยสารจะแบ่งเป็นคอลัมน์ต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเลือกอ่านตามความสนใจ เช่น สารคดี บทความ นวนิยาย เรื่องสั้น บทสัมภาษณ์ ความงาม บันเทิง และศิลปวัฒนธรรม ผู้อ่านิตยสารสามารถเลือกอ่านและรับสาระความรู้ต่างๆได้มากมายทั้งในรูปแบบ บทความ สารคดี ปกิณกะและศิลปวัฒนธรรม การจะอ่านให้ได้สาระและความรู้ไปพร้อมๆกัน ในส่วนของการอ่านบทความก็ควรมีวิธีการหรือแนวทางการอ่าน ดังนี้
1. ผู้อ่านจะต้องอ่านชื่อบทความ เพื่อเป็นการสำรวจบทความในเบื้องต้นว่าเป็นเรื่องที่ผู้อ่านสนใจที่จะอ่านหรือไม่ อย่างไร
2. อ่านความนำ เมื่อเลือกเรื่องที่จะอ่านได้แล้ว ผู้อ่านควรอ่านความนำ เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาโดยสังเขป ว่าตรงกับความสนใจหรือเรื่องที่ตนค้นหาหรือไม่ การเขียนความนำในบทความจะไม่ยาวมากนัก อีกทั้งบทความที่เป็นสาระความรู้ในนิตยสารจะมีทั้งเรื่องราวขนาดสั้นและยาวแตกต่างกันไป
3. อ่านเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องเป็นส่วนสำคัญที่แสดงรายละเอียดของเรื่อง ผู้เขียนอาจมีการศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเขียน แสดงข้อเท็จจริง สาระความรู้ เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้อ่านที่สนใจ
4. อ่านบทสรุป บทสรุปในบทความจะช่วยเน้นย้ำสาระสำคัญของเรื่องให้ผู้อ่านทราบและยังเป็นการส่งท้ายด้วยข้อคิดเห็นที่สำคัญ อันจะเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มผู้อ่านโดยตรง
          ตัวอย่างบทความขนาดสั้น
จากคอลัมน์สุขภาพ...สุขภาพ ของ ฐาปาณิตา สกุลไทย รายสัปดาห์ฉบับที่ 2799 วันที่ 10 มิถุนายน 2551 หน้า 73


การอ่านบทความจากนิตยสาร ผู้อ่านอาจจะสนใจเนื้อหาที่แตกต่างกัน อีกทั้งบทความตามคอลัมน์ต่างๆในนิตยสารก็มีความสั้น-ยาวต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้อ่านจะต้องอ่าน แล้วจับประเด็นสำคัญขององค์ประกอบของ บทความให้ได้ครบถ้วนทั้งหมดนำเนื้อหาและบทสรุปผู้อ่านจึงจะได้รับสาระความรู้ครบถ้วน
        



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น